วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ดินเปรี้ยว

ดินเปรี้ยว



        ดินเปรี้ยว หรือดินกรด (Acid soil) หมายถึง ดินที่มีค่า pH วัดได้ต่ำกว่า 7.0 ดังนั้น ดินเปรี้ยวจัด (Acid sulfate soil) จึงเป็นดินเปรี้ยวหรือดินกรดชนิดหนึ่ง แต่มีความหมายแตกต่างจากดินกรดโดยทั่ว ๆ ไป หรือดินกรดธรรมดา หนังสือคำบัญญัติศัพท์ ภูมิศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. 2523) ได้ให้ความหมายว่า acid sulfate soil หมายถึง ดินเปรี้ยวจัด ดินกรดจัด หรือดินกรดกำมะถัน
ดินเปรี้ยวจัด นับว่าเป็นดินที่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากพื้นที่ดินเปรี้ยวส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้และชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ ดินเปรี้ยวจัดส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอดช่วงฤดูฝนและลักษณะของดินเป็นดินเหนียวจึงจัดใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวให้ผลผลิตข้าวต่ำ ถึงแม้สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเหมาะสมต่อการทำนาก็ตาม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ซึ่งไม่ใช่ดินเปรี้ยวจัดซึ่งจะให้ผลผลิตเฉลี่ยมากกว่าหลายเท่า ดังนั้นการแก้ไขปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดจึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง
เมื่อพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคของดินเปรี้ยวจัดพบว่าความเป็นกรดอย่างรุ่นแรงของดินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของพืชและผลผลิตของพืชตกต่ำ เพราะทำให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารหลักของพืชลดลงหรือมีไม่พอเพียงต่อความต้องการของพืช ธาตุอาหารของพืชที่มีอยู่ในระดับต่ำคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ส่วนธาตุอาหารของพืชบางชนิดมีเกินความจำเป็นซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อการเจริญเติบโนและผลผลิตของพืชที่ปลูก เช่น อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส และความเป็นกรดจัดยังมีผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินและมีประโยชน์ต่อพืชมีปริมาณที่ลดลง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องหาลู่ทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวจัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเป็นการแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรดินให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนต่อไป
กระบวนการเกิดดินเปรี้ยวจัด
กระบวนการเกิดดินเปรี้ยวจัด ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญคือกระบวนการเกิดวัตถุต้นกำเนิดดินเปรี้ยวจัดหรือเรียกว่ากระบวนการสร้างดินทางธรณีวิทยา (geogenetic process) และกระบวนการเกิดชั้นดินเปรี้ยวจัดหรือเรียกว่า กระบวนการสร้างดินทางปฐพีวิทยา (pedogenetic process) ซึ่งกระบวนการเกิดวัตถุต้นกำเนิดดินเปรี้ยวจัดจะเกี่ยวข้องกับการเกิดสารประกอบไพไรท์ (pyrite) หรือสารประกอบซัลไฟด์ แต่กระบวนการเกิดชั้นดินเปรี้ยวจัดจะเกี่ยวข้องกับออกซิไดซ์สารไพไรท์แล้วเกิดเป็นสารประกอบของกรดกำมะถัน

ประเภทของดินเปรี้ยว
ดินกรดเป็นดินที่ปัญหาทางการเกษตรเนื่องจากสมบัติที่เป็นกรดซึ่งมีผลต่อกระบวนการเจริญเติบโตของพืชแล้วส่งผลต่อปริมาณผลิตผลทางการเกษตร พบว่าดินกรดจะมีลักษณะของดินและกระบวนการเกิดดินสามารถแบ่งประเภทของดินได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. ดินเปรี้ยวจัด ดินกรดจัด หรือดินกรดกำมะถัน (Acid sulfate soil)
ดินเปรี้ยวจัด ดินกรดจัด หรือดินกรดกำมะถัน (Acid sulfate soil) เป็นดินทีเกิดจากการตกตะกอนของน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อย ที่มีสารประกอบของกำมะถันซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดกำมะถันตามกระบวนการธรรมชาติสะสมในชั้นหน้าตัดของดินโดยจะเป็นดินที่มีความเป็นกรดสูง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างรุนแรง เช่นขาดธาตุฟอสฟอรัส ไนโตรเจนแถมยังมีธาตุอาหารบางชนิดเกินความจำเป็นซึ่งส่งผลร้ายหรือเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่น ธาตุเหล็ก อลูมิเนียม เป็นต้น

2. ดินอินทรีย์ หรือโดยทั่วไปเรียกว่า “ดินพรุ”
ในประเทศมีดินที่เป็นดินอินทรีย์แพร่กระจายอยู่หนาแน่นอยู่ตามแนวชายแดนหรือเขตชายแดนไทยและมาเลเซียเป็นส่วนใหญ่นอกจากนั้นยังพบโดยทั่ว ๆ ไปในภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ พื้นที่ที่เป็นพื้นที่พรุหรือพื้นที่ดินอินทรีย์นั้น ตามธรรมชาติจะเป็นที่ลุ่มน้ำที่มีน้ำขังอยู่ตลอดทั้งปีซึ่งเกิดจากการทับถมของพืชต่าง ๆ ที่เปื่อยผุพังเป็นชั้นหนาตั้งแต่ 40 เซนติเมตร ไปจนถึงมีความหนาประมาณ 10 เมตร มี่การสลายตัวอย่างช้าๆทำให้กรดอินทรีย์ถูกปล่อยออกมาสะสมอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง ดินชนิดนี้จะมีปริมาณดินเหนียวต่ำ และมีปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อพืชอยู่น้อยดินชนิดนี้ที่พบในบริเวณที่ราบลุ่มตามชายทะเลจะมีดินเปรี้ยวจัดแฝงอยู่ในชั้นล่างของดิน ถ้ามีการระบายน้ำออกจากพื้นที่บริเวณพื้นที่พรุจนถึงระดับของดินเปรี้ยวจัดแฝงอยู่จะก่อให้ปัญหาใหม่ตามมาคือจะเกิดเป็นดินกรดกำมะถันขึ้น ทำให้มีปัญหาซ้ำซ้อนทั้งดินเปรี้ยวจัดและดินอินทรีย์ ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นมาอีก

3. ดินกรด หรือดินกรดธรรมดา
ดินกรดหรือดินกระธรรมดา เป็นดินเก่าแก่อายุมากซึ่งพบได้โดยทั่วไป ดินกรดเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่เขตร้อนชื้นมีฝนตกชุก ดินที่ผ่านกระบวนการชะล้างหรือดินที่ถูกใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเนื่องจากดินเหนียวและอินทรีย์วัตถุถูกชะล้างไปด้วยมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์โดยทั่วๆ ไปของดินต่ำจนถึงต่ำมาก นอกจากนี้ดินยังมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำอีกด้วย

ดินกับการเจริญเติบโตของพืช

                                                       

              ดินกับการเจริญเติบโตของพืช






       สิ่งที่พืชต้องการจากดิน ได้แก่ ที่หยั่งรากเพื่อการพยุง ยึดต้น ตั้งตรง ก๊าซออกซิเจนให้รากหายใจ น้ำและแร่ธาตุอาหารที่รากดูดเข้าไปใช้ สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในสมบัติต่าง ๆ ของดินในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชดังนี้
1.   ความลึกของดินที่รากหยั่งลึกได้ โดยปกติรากพืชมีอยู่หนาแน่นในดินผิงบนที่โปร่ง ร่วนซุย หรือดินที่มีก๊าซออกซิเจนมากพอต่อการหายใจ มีรากบางส่วนที่แทรกตัวลึกเพื่อหาน้ำจากดินล่างที่อยู่ลึกลงไป จนถึงชั้นหินพื้นหรือเหนือระดับน้ำใต้ดิน พืชล้มลุกต้นเล็กต้องการความลึกของดินเพียง 10–30 เซนติเมตร แต่ต้นไม้ใหญ่ต้องการมากกว่า 5–20 เมตร (ในปริมาตรดินลึก 20–30 เซนติเมตร) ถ้าดินมีสภาพเหมาะสมต่อการแพร่กระจายและหยั่งลึกของรากพืช มีโอกาสได้อาหาร แร่ธาตุและน้ำมากยิ่งขึ้น พืชมีโอกาสเจริญเติบโตมากขึ้น ข้อจำกัดของการหยั่งรากลึกของพืชอยู่ที่ปริมาณของก๊าซออกซิเจน ความอัดแน่นหรือแน่นทึบของชั้นแผ่นหิน ชั้นดินดาน และระดับน้ำใต้ดิน
2.   เนื้อดิน หรือความหยาบ ความละเอียดของดิน เกี่ยวข้องกับความพรุน (ขนาดของช่องว่างและความต่อเนื่องของช่อง) การอุ้มน้ำ การกักเก็บน้ำ การซึมซาบของน้ำ การถ่ายเทอากาศ การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำในดิน และปริมาณอาหารแร่ธาตุของดิน “ดินเนื้อหยาบ” (ดินหยาบ) ไม่มีอาหารแร่ธาตุ ไม่อุ้มน้ำ ไม่กักเก็บน้ำ น้ำซึมซาบอย่างรวดเร็ว อากาศถ่ายเทดี น้ำเคลื่อนที่หนีหายได้เร็ว จึงไม่เหมาะสมต่อการทำนา “ดินเนื้อละเอียด” (ดินเหนียวจัด) อุ้มน้ำดี กักเก็บน้ำได้ดี น้ำซึมซาบได้ช้า ถ่ายเทอากาศเลว น้ำเคลื่อนที่ขึ้นลงช้า ปริมาณอาหารแร่ธาตุมักอุดมสมบูรณ์ จึงไม่เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผลในเขตที่มีฤดูแล้งยาวนาน และไม่มีน้ำชลประทานช่วยเสริม เนื้อดินที่พึงประสงค์คือ “ดินร่วน” ซึ่งอุ้มน้ำ การกักเก็บน้ำ การซึมซาบน้ำ การถ่ายเทอากาศ การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำและปริมาณของอาหาร แร่ธาตุในระดับปานกลาง เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผลหรือพืชไร่ หรือ ทำนาข้าว
3.  ปริมาณอนุภาคดินเหนียวและอินทรีย์วัตถุในดิน เกี่ยวข้องกับเนื้อดิน โครงสร้างดินและความจุในการจับอาหารแร่ธาตุประจุบวก ซึ่งเกี่ยวกับปริมาณอาหารแร่ธาตุในดิน ความเป็นกรด เป็นด่างของดิน ปริมาณอนุภาคดินเหนียวควรอยู่ระหว่าง 10-30 % ถ้าต่ำกว่า 10 % ไม่เหมาะสมเนื่องจาก น้ำเคลื่อนที่เร็วเกินไป อาหารแร่ธาตุต่ำ การเปลี่ยนแปลงระดับความเป็นกรดรวดเร็ว หรือถ้าสูงกว่า 39 % ดินมีโอกาสระบายน้ำช้ามาก การถ่ายเทอากาศเลว การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำช้าจนเกินไปไถพรวนยาก การเปลี่ยนแปลงสภาพ
4.  ความชื้นของดิน จากดินน้ำขังมาเป็นดินชื้นช้ามาก ทำให้เปลี่ยนชนิดพืชจากนาข้าวมาเป็นพืชไร่ สวนผัก-พืชสวนชักช้าออกไปเสีย โอกาสปลูกพืชตามหลังข้าว

5.  ระดับความเป็นกรด–ด่างของดิน (หรือ pH ของดิน) ระดับความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต ประมาณ 5.5 ถึง 6.5 ดินจะมีสภาวะที่เหมาะสมต่อสัดส่วนของปริมาณอาหาร แร่ธาตุต่าง ๆ ในสารละลายดิน ถ้าค่า pH สูงหรือต่ำกว่านี้ สัดส่วนของธาตุบางธาตุผิดปกติไปคือ ธาตุหนึ่งอาจมากเกินไป ขณะเดียวกันธาตุอื่นอาจน้อยเกินไปปริมาณอาหารแร่ธาตุต่างๆ ของดิน บริเวณรากหยั่งตลอดเวลาที่พืชเจริญเติบโต พืชต้องการใช้อาหารแร่ธาตุจำนวนหนึ่งตลอดเวลาตั้งแต่ต้นกล้าถึงต้นแก่ตายไป ปริมาณแต่ละธาตุไม่เท่ากันทุกธาตุแต่ละช่วงการเจริญเติบโตก็ต้องการในสัดส่วนของธาตุที่แตกต่างกัน ดินบริเวณรากหยั่งจึงต้องมีธาตุอาหารในสารละลายดินครบในปริมาณมากเกินกว่าที่พืชต้องการจริง ๆ ตลอดเวลา เพื่อให้พืชเลือกดูดกินเข้าไปใช้
6.  ปริมาณสารพิษ (ต่อพืช) ในสารละลายดินหรือวัสดุหยั่งรากขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโตอยู่ สารพิษแต่ละชนิดมีอัตราความเข้มข้น/ปริมาณที่จะเป็นพิษต่อพืชต่างกัน เกณฑ์กำหนดการวิเคราะห์จากตัวอย่างดินเท่าที่มีรายงานและเป็นที่ยอมรับกันมีดังนี้
7.  ปริมาณเกลือละลายได้ในน้ำในสารละลายดิน (ความเค็มของดิน) ใช้เกณฑ์ค่า EC sat. ของดิน (ค่าการในไฟฟ้าของน้ำที่สกัดมาจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ) ถ้าเกิน 4.0 ds/m จัดเป็นดินเค็มที่มีปริมาณเกลือละลายได้มากพอที่จะละผลผลิตลงมาต่ำกว่า 50 % ของผลผลิตในดิน
8.  ปริมาณเฟอรัสไอออน (Fe4+) ในสารละลายดินมากกว่า 10 ต่อล้านส่วน (พืชไร, ดินชื้น) และมากกว่า 200 ต่อล้านส่วน (ข้าว, ดินน้ำขัง) เป็นอันตรายต่อพืชถึงตาย
9.  ปริมาณอลูมินัมไอออน (Al3+) ในสารละลายดิน มากกว่า 13 ต่อล้านส่วน หรือ 1 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อลิตร (พืชไร, ดินชื้น) และมากกว่า 65 ต่อล้านส่วน หรือ 5 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อลิตร (ข้าว, ดินน้ำขัง) เป็นอันตรายต่อพืชถึงตาย
10.  ปริมาณกรดอินทรีย์ต่างๆ มากกว่า 10 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อลิตร (ข้าว, ดินน้ำขัง) เป็นอันตรายต่อต้นข้าวถึงตาย ในขณะที่ต้นไม้ในพรุ เช่น เสม็ด, แห้วทรงกระเทียม และหมากแดง ยังเจริญงอกงามได้เป็นอย่างดี
11.  ฮอร์โมนต่างๆ และยาฆ่าหญ้า ที่ระดับเกินกว่าที่กำหนดให้ใช้ หรืออัตราที่กำหนดให้ใช้แต่ผิดชนิดพืช มีผลทำให้ใบพืชไหม้และตายได้ หรือถ้าใส่ลงไปในดิน ถ้าความเข้มสูงเกินไป อาจทำให้รากตายได้



วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เเกล้งดินทำอย่างไร


แกล้งดินทำอย่างไร 


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


     ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ทำการศึกษาวิจัยและปรับปรุงดิน โดยวิธีการ "แกล้งดิน" คือ ทำให้ดินเปรี้ยว เป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด กล่าวคือ การทำให้ดินแห้ง และเปียกโดยนำน้ำเข้าแปลงทดลองระยะหนึ่ง และระบายน้ำออกให้ดินแห้งระยะหนึ่งสลับกัน จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดกรดมากยิ่งขึ้น ด้วยหลักการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงทรงให้เลียนแบบสภาพธรรมชาติ ซึ่งมีฤดูแล้งและฤดูฝนเป็นปกติในแต่ละปี แต่ให้ใช้วิธีการร่นระยะเวลาช่วงแล้ง และช่วงฝนในรอบปีให้สั้นลง โดยปล่อยให้ดินแห้ง 1 เดือน และขังน้ำให้ดินเปียกนาน 2 เดือน สลับกันไป เกิดภาวะดินแห้ง และดินเปียก 4 รอบ ต่อ 1 ปี เสมือนกับมีฤดูแล้งและฤดูฝน 4 ครั้ง ใน 1 ปี หลังจากนั้นจึงให้หาวิธีการปรับปรุงดิน ดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ 

อ้างอิง สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราาชดำริ. (2553). เเกล้งดินทำอย่างไร. 16 ธันวาคม 2560, จาก http://km.rdpb.go.th.

ความเป็นนวัตกรรม

ความเป็นนวัตกรรม 


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

     
     วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการศูนย์พิกุลทองฯ ได้พระราชทานพระราชดำรัสกับ น.ต.กำธน  สินธวานนท์ องคมนตรี นายจุลนภ  สนิทวงศ์ ณ อยุธยา องคมนตรี นายสุเมธ  ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. และเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ดังนี้
     “…โครงการแกล้งดินนี้เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่พูดมา 3 ปีแล้ว หรือ 4 ปีกว่าแล้ว ต้องการน้ำสำหรับมาให้ดินทำงาน ดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อ แล้วก็มาทำที่นี่แล้วมันได้ผล ดังนั้น ผลงานของเราที่ทำที่นี่เป็นงานสำคัญที่สุด เชื่อว่าชาวต่างประเทศเขามาดูเราทำอย่างนี้แล้วเขาก็พอใจ เขามีปัญหาแล้วเขาก็ไม่ได้แก้ หาตำราไม่ได้...”
      “... โครงการปรับปรุงดินเปรี้ยวควรดำเนินการต่อไปในแง่ของการศึกษาทดลองและการขยายผลการทดลองต้องดูอย่างนี้ ทิ้งดินเอาไว้ปีหนึ่งแล้วจะกลับเปลี่ยนหรือเปล่า เพราะว่าความเปรี้ยวมันเป็นชั้นดิน ดินที่เป็นซัลเฟอร์ (sulfur) แล้วก็ถ้าเราเปิดให้มีน้ำ อากาศลงไป ให้เป็นซัลเฟอร์ออกไซด์ ซึ่งซัลเฟอร์ออกไซด์เอาน้ำเข้าไปอีกที ไปละลายซัลเฟอร์ออกไซด์ก็กลายเป็นใส่ออกไซด์ลงไป ก็เป็นกรดซัลฟุริก (sulfuric) แต่ถ้าสมมุติว่าเราใส่อยู่ตลอดเวลา ชั้นดินที่เป็นซัลเฟอร์นั้นถูกกันไว้ไม่ให้โดนออกซิเจนแล้วตอนนี้ไม่เพิ่ม....ไม่เพิ่ม acid โดยหลักการเป็นอย่างนั้น แต่หากว่าต่อไปในแปลงต่าง ๆ เพิ่มการทดลองอีก เมื่อได้แล้วทิ้งไว้มันจะกลับไปสู่สภาพเดิมหรือไม่ แล้วเมื่อความเป็นกรดเพิ่มขึ้นใหม่ จะพัฒนาให้กลับคืนมาสู่สภาพนี้ได้ ต้องใช้เวลา อาจจะใช้เวลาสักปี ดูสภาพว่าปีไหนไม่ได้ใช้ ดินมันจะเสื่อมลงไปเท่าไรแล้วจะกลับคืนมาเร็วเท่าไร...”
     “....งานทดลองนี้เหมือนเป็นตำรา ควรทำเป็นตำราที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ดินเปรี้ยวอื่น ๆ ในพื้นที่อื่นอาจจะไม่ต้องมีการแบ่งเป็นแปลงย่อยเช่นนี้ คันดินที่สร้างเพื่อกั้นน้ำก็อาจจะใช้คลอง ชลประทานสร้างถนน สะพาน การศึกษาจึงต้องทำแบบนี้...”
     จากพระราชดำริให้ดำเนินโครงการ “แกล้งดิน” และจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าว พบว่า “โครงการแกล้งดิน” เป็นโครงการที่มีความเป็นนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในประเทศเขตร้อน และยังไม่มีที่ใดในโลกที่ใช้วิธีการดำเนินงานในลักษณะดังกล่าว และนำมาทำเป็นตำราเผยแพร่ แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเป็น “นวัตกร” อย่างแท้จริง ทั้งนี้ แนวพระราชดำริดังกล่าวได้เน้นให้เห็นถึงการประสมประสานนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีควบคู่กับนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ จนได้วิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขดินเปรี้ยวได้
      ด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  บรมนาถบพิตร และความตั้งพระราชหฤทัยที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยนั้น เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติคุณกันทั่วทิศานุทิศ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ได้บำเพ็ญพระราชกรณียกิจมากหลายซึ่งเป็นคุณประโยชน์ใหญ่หลวงต่อชาวไทยและชาวโลก และเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 นี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเทิดพระเกียรติพระองค์เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้สถิตสถาพร อีกทั้งเพื่อเป็นเกียรติและสิริอันสูงยิ่งแก่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และวงการนวัตกรรมไทยสืบต่อไป



อ้างอิง สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราาชดำริ. (2553). เเกล้งดินทำอย่างไร. 16 ธันวาคม 2560, จาก http://km.rdpb.go.th.

แกล้งดินสำเร็จแล้วราษฎรได้ประโยชน์อะไร


แกล้งดินสำเร็จแล้วราษฎรได้ประโยชน์อะไร 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โครงการแกล้งดิน


     เมื่อผลของการศึกษาทดลอง สำเร็จผลชั้นหนึ่ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้นำผลการศึกษาทดลองขยายผลสู่พื้น ที่ทำการเกษตรของราษฎร ที่ประสบปัญหาดินเปรี้ยวจัด ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีพระราชดำริว่า 
"...พื้นที่บริเวณบ้านโคกอิฐ และโคกในเป็นดินเปรี้ยว เกษตรกรมีความต้องการจะปลูกข้าว ทางชลประทานได้จัดส่งน้ำชลประทานให้ ก็ให้พัฒนาดินเปรี้ยว เหล่านี้ให้ใช้ประโยชน์ได้ โดยให้ประสานงานกับชลประทาน..." 
จากการพัฒนาบ้านโคกอิฐ และบ้านโคกใน ปรากฏว่าราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว สามารถปลูกข้าวให้ได้ผล ผลิตเพิ่มมากขึ้นจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยถึงกับมีรับสั่งว่า  "...เราเคยมาโคกอิฐ โคกใน มาดูเขาชี้ตรงนั้น ๆ เขาทำ แต่ว่าเขาได้เพียง 5 ถึง 10 ถัง แต่ตอนนี้ได้ขึ้นไปถึง 40-50 ถัง ก็ใช้ได้แล้ว เพราะว่าทำให้เปรี้ยวเต็มที่แล้ว โดยที่ขุดอะไร ๆ ทำให้เปรี้ยวแล้วก็ระบาย รู้สึกว่านับวันเขาจะดีขึ้น... อันนี้สิเป็นชัยชนะที่ดีใจมาก ที่ใช้งานได้แล้วชาวบ้านเขาก็ดีขึ้น ...แต่ก่อนชาวบ้านเขาต้องซื้อข้าว เดี๋ยวนี้เขามีข้าวอาจจะขายได้" 
     อย่างไรก็ตาม " โครงการแกล้งดิน " มิได้หยุดลงเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง แต่จะต้องดำเนินการต่อไป "...งานปรับปรุงดินเปรี้ยวควรดำเนินการต่อไป ทั้งในแง่การศึกษาทดลองและการขยายผล..." ซึ่งปัจจุบันได้นำผลการศึกษาทดลอง ไปขยายผลแก่ราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะนี้จะมีการนำผลของการ "แกล้งดิน" นำไปใช้ในพื้นที่จังหวัดนครนายก และจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกด้วย ดังนั้น " โครงการแกล้งดิน " จึงเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับราษฎรทั่ว ทั้งประเทศ สร้างความปลื้มปิติ แก่เหล่าพสกนิกรเป็นล้นพ้นที่พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยอมตรากตรำพระวรกายลงมา "แกล้งดิน" เพื่อให้พสกนิกรของพระองค์ พ้นจากความยากจนกลับมาเบิกบานแจ่มใสกันทั่วหน้า

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราาชดำริ. (2553). เเกล้งดินทำอย่างไร. 16 ธันวาคม 2560, จาก http://km.rdpb.go.th.



ผลการทดลองเเก้ปัญหาดินเปรี้ยว


ผลการทดลอง

    
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


     การแกล้งดิน เป็นการเร่งทำให้ดินเปรี้ยวเป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด จนไม่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจไดhจากนั้นหาวิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดรุนแรงที่สุดให้สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้โดยอาศัยวิธีการต่างๆ ดังนี้
1. การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกข้าว
     • การใช้น้ำล้างความเป็นกรด ในปีแรกข้าวเจริญเติบโต แต่ให้ผลผลิตต่ำ และผลผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีต่อมา ช่วงเวลาของการขังน้ำ และระบายน้ำทิ้งที่เหมาะสมคือ 4 สัปดาห์
     • การใส่หินปูนฝุ่น ข้าวเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีกว่า การใส่หินปูนอัตราครึ่งหนึ่งของความต้องการปูน (1.5 ตัน/ไร่) ข้าวให้ผลผลิตเทียบเท่ากับการใส่ปูนเต็มอัตราแนะนำ
     • การใส่ปูนอัตราต่ำ (ครึ่งหนึ่งของความต้องการปูน) เพื่อสะเทินกรด ควบคู่กับการขังน้ำ แล้วเปลี่ยนน้ำทุก ๆ 4 สัปดาห์ ข้าวจะให้ผลผลิตดีที่สุด
2. การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกพืชไร่ พืชผัก 
     • โดยใส่หินปูนฝุ่นอัตรา 2 ตัน/ไร่ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ
3. การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกไม้ผล
     • ควรขุดยกร่องเพื่อป้องกันน้ำท่วมและช่วยล้างกรด บนคันดินลงสู่คูด้านล่างควรปรับปรุงดินบริเวณสันร่องก่อน โดยหว่านหินปูนฝุ่นอัตรา 2 ตัน/ไร่ เพื่อสะเทินกรด ก่อนปลูกพืชรองก้นหลุมด้วยปูนขาวหรือหินปูนฝุ่นร่วมกับปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ไม้ผลที่ทดลองปลูกได้ผลดี คือ มะพร้าวน้ำหอม ละมุด กระท้อน ชมพู่
4. จากการทดลองปรับปรุงดินแล้วไม่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง พบว่าดินจะเปรี้ยวจัดรุนแรงอีก
5. ดินเปรี้ยวจัดในสภาพที่ไม่ถูกรบกวน ความเป็นกรดจะเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ และพืชพรรณธรรมชาติที่ทนทานความเป็นกรดขึ้นได้หลายชนิด




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราาชดำริ. (2553). เเกล้งดินทำอย่างไร. 16 ธันวาคม 2560, จาก http://km.rdpb.go.th.






การดำเนินงานศึกษาทดลองในโครงการแกล้งดิน





การดำเนินงานศึกษาเเละทดลอง




รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



การดำเนินงานศึกษาทดลองในโครงการแกล้งดิน 
          ได้มีการดำเนินการในช่วง ต่างๆ ตามแนวพระราชดำริดังนี้ 
          ช่วงที่ 1 (มกราคม 2529-กันยายน 2530) เป็นการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดิน เปรียบเทียบระหว่างดินที่ปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ กับดินที่ทำให้แห้งและเปียกสลับกัน โดยวิธีการสูบน้ำเข้า-ออก การทำดินให้แห้งและเปียกสลับกัน ดินจะเป็นกรดจัดรุนแรง และมีผล ต่อการเจริญเติบโตของพืช พบว่าข้าวสามารถ เจริญเติบโตได้ แต่ให้ผลผลิตต่ำ 
          ช่วงที่ 2 (ตุลาคม 2530-ธันวาคม 2532) ศึกษาการเปลี่ยน แปลงทางเคมีของดินโดยเปรียบเทียบระหว่างระยะเวลา ที่ทำให้ดินแห้งและ เปียกแตกต่างกัน การปล่อยให้ดินแห้งนานมากขึ้น ความเป็นกรดจะรุนแรงมากกว่าการใช้ น้ำแช่ขังดินนานๆ และการให้น้ำหมุนเวียนโดยไม่มีการระบายออก ทำให้ความเป็นกรดและ สารพิษสะสมในดินมากขึ้น ในการปลูกข้าวทดสอบความรุนแรงของกรด พบว่าข้าวตายหลังจากปักดำได้ 1 เดือน 
          ช่วงที่ 3 (มกราคม 2533-ปัจจุบัน) ศึกษาถึงวิธีการปรับปรุงดิน โดยใช้น้ำชะล้างความเป็นกรด ใช้น้ำชะล้างควบคู่กับการใช้หินปูนฝุ่น ใช้หินปูนฝุ่นอัตราต่ำ เฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของดิน หลังจากที่ปรับปรุงแล้วปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการใช้ประโยชน์ และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของดินเปรี้ยวจัด เมื่ออยู่ในสภาพธรรมชาติ ในปริมาณเล็กน้อย พบว่าวิธีการใช้น้ำชะล้างดิน โดยขังน้ำไว้นาน 4 สัปดาห์ แล้วระบายออก ควบคู่กับการใช้หินปูนฝุ่นในปริมาณเล็ก น้อยจะสามารถปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด ได้เป็นอย่างดี ส่วนวิธีการใช้น้ำชะล้างก็ให้ผลดีเช่นเดียวกัน แต่ต้องใช้เวลานานกว่า หลังจากมีการปรับปรุงดินแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้ไม่มีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ดินกลับเป็นกรดจัดรุนแรงขึ้นอีก สำหรับพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดตามธรรมชาติ ที่ไม่มีการปรับปรุงการเปลี่ยนแปลง ของความเป็นกรดน้อยมาก 
          เมื่อปี 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีรับสั่งเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนิน ตรวจแปลงศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็น กรดของดินกำมะถันว่า
          "...นี่เป็นเหตุผลอย่างหนึ่ง ที่พูดมาสามปีแล้วหรือสี่ปี ว่าต้องการน้ำสำหรับมาให้ดินทำงาน ดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อ แล้วก็มาทำที่นี้แล้วมันได้ผล... อันนี้ผลงานของเราที่ทำที่นี่ เป็นงานที่สำคัญที่สุด เชื่อว่าชาวต่างประเทศ เขามาดูเราทำอย่างนี้แล้ว เขาก็พอใจ เขามีปัญหานี่แล้วเขาก็ไม่ได้ แก้หาตำราไม่ได้ ..." 
          ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้จัดทำคู่มือ การปรับปรุงดินเปรี้ยวจัด เพื่อการเกษตรขึ้นเมื่อปี 2536



อ้างอิง สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราาชดำริ. (2553). เเกล้งดินทำอย่างไร. 16 ธันวาคม 2560, จาก http://km.rdpb.go.th.

ดินเปรี้ยว

ดินเปรี้ยว         ดินเปรี้ยว หรือดินกรด (Acid soil) หมายถึง ดินที่มีค่า pH วัดได้ต่ำกว่า 7.0 ดังนั้น ดินเปรี้ยวจัด (Acid sulfate so...