วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ดินกับการเจริญเติบโตของพืช

                                                       

              ดินกับการเจริญเติบโตของพืช






       สิ่งที่พืชต้องการจากดิน ได้แก่ ที่หยั่งรากเพื่อการพยุง ยึดต้น ตั้งตรง ก๊าซออกซิเจนให้รากหายใจ น้ำและแร่ธาตุอาหารที่รากดูดเข้าไปใช้ สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในสมบัติต่าง ๆ ของดินในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชดังนี้
1.   ความลึกของดินที่รากหยั่งลึกได้ โดยปกติรากพืชมีอยู่หนาแน่นในดินผิงบนที่โปร่ง ร่วนซุย หรือดินที่มีก๊าซออกซิเจนมากพอต่อการหายใจ มีรากบางส่วนที่แทรกตัวลึกเพื่อหาน้ำจากดินล่างที่อยู่ลึกลงไป จนถึงชั้นหินพื้นหรือเหนือระดับน้ำใต้ดิน พืชล้มลุกต้นเล็กต้องการความลึกของดินเพียง 10–30 เซนติเมตร แต่ต้นไม้ใหญ่ต้องการมากกว่า 5–20 เมตร (ในปริมาตรดินลึก 20–30 เซนติเมตร) ถ้าดินมีสภาพเหมาะสมต่อการแพร่กระจายและหยั่งลึกของรากพืช มีโอกาสได้อาหาร แร่ธาตุและน้ำมากยิ่งขึ้น พืชมีโอกาสเจริญเติบโตมากขึ้น ข้อจำกัดของการหยั่งรากลึกของพืชอยู่ที่ปริมาณของก๊าซออกซิเจน ความอัดแน่นหรือแน่นทึบของชั้นแผ่นหิน ชั้นดินดาน และระดับน้ำใต้ดิน
2.   เนื้อดิน หรือความหยาบ ความละเอียดของดิน เกี่ยวข้องกับความพรุน (ขนาดของช่องว่างและความต่อเนื่องของช่อง) การอุ้มน้ำ การกักเก็บน้ำ การซึมซาบของน้ำ การถ่ายเทอากาศ การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำในดิน และปริมาณอาหารแร่ธาตุของดิน “ดินเนื้อหยาบ” (ดินหยาบ) ไม่มีอาหารแร่ธาตุ ไม่อุ้มน้ำ ไม่กักเก็บน้ำ น้ำซึมซาบอย่างรวดเร็ว อากาศถ่ายเทดี น้ำเคลื่อนที่หนีหายได้เร็ว จึงไม่เหมาะสมต่อการทำนา “ดินเนื้อละเอียด” (ดินเหนียวจัด) อุ้มน้ำดี กักเก็บน้ำได้ดี น้ำซึมซาบได้ช้า ถ่ายเทอากาศเลว น้ำเคลื่อนที่ขึ้นลงช้า ปริมาณอาหารแร่ธาตุมักอุดมสมบูรณ์ จึงไม่เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผลในเขตที่มีฤดูแล้งยาวนาน และไม่มีน้ำชลประทานช่วยเสริม เนื้อดินที่พึงประสงค์คือ “ดินร่วน” ซึ่งอุ้มน้ำ การกักเก็บน้ำ การซึมซาบน้ำ การถ่ายเทอากาศ การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำและปริมาณของอาหาร แร่ธาตุในระดับปานกลาง เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผลหรือพืชไร่ หรือ ทำนาข้าว
3.  ปริมาณอนุภาคดินเหนียวและอินทรีย์วัตถุในดิน เกี่ยวข้องกับเนื้อดิน โครงสร้างดินและความจุในการจับอาหารแร่ธาตุประจุบวก ซึ่งเกี่ยวกับปริมาณอาหารแร่ธาตุในดิน ความเป็นกรด เป็นด่างของดิน ปริมาณอนุภาคดินเหนียวควรอยู่ระหว่าง 10-30 % ถ้าต่ำกว่า 10 % ไม่เหมาะสมเนื่องจาก น้ำเคลื่อนที่เร็วเกินไป อาหารแร่ธาตุต่ำ การเปลี่ยนแปลงระดับความเป็นกรดรวดเร็ว หรือถ้าสูงกว่า 39 % ดินมีโอกาสระบายน้ำช้ามาก การถ่ายเทอากาศเลว การเคลื่อนที่ขึ้นลงของน้ำช้าจนเกินไปไถพรวนยาก การเปลี่ยนแปลงสภาพ
4.  ความชื้นของดิน จากดินน้ำขังมาเป็นดินชื้นช้ามาก ทำให้เปลี่ยนชนิดพืชจากนาข้าวมาเป็นพืชไร่ สวนผัก-พืชสวนชักช้าออกไปเสีย โอกาสปลูกพืชตามหลังข้าว

5.  ระดับความเป็นกรด–ด่างของดิน (หรือ pH ของดิน) ระดับความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต ประมาณ 5.5 ถึง 6.5 ดินจะมีสภาวะที่เหมาะสมต่อสัดส่วนของปริมาณอาหาร แร่ธาตุต่าง ๆ ในสารละลายดิน ถ้าค่า pH สูงหรือต่ำกว่านี้ สัดส่วนของธาตุบางธาตุผิดปกติไปคือ ธาตุหนึ่งอาจมากเกินไป ขณะเดียวกันธาตุอื่นอาจน้อยเกินไปปริมาณอาหารแร่ธาตุต่างๆ ของดิน บริเวณรากหยั่งตลอดเวลาที่พืชเจริญเติบโต พืชต้องการใช้อาหารแร่ธาตุจำนวนหนึ่งตลอดเวลาตั้งแต่ต้นกล้าถึงต้นแก่ตายไป ปริมาณแต่ละธาตุไม่เท่ากันทุกธาตุแต่ละช่วงการเจริญเติบโตก็ต้องการในสัดส่วนของธาตุที่แตกต่างกัน ดินบริเวณรากหยั่งจึงต้องมีธาตุอาหารในสารละลายดินครบในปริมาณมากเกินกว่าที่พืชต้องการจริง ๆ ตลอดเวลา เพื่อให้พืชเลือกดูดกินเข้าไปใช้
6.  ปริมาณสารพิษ (ต่อพืช) ในสารละลายดินหรือวัสดุหยั่งรากขณะที่พืชกำลังเจริญเติบโตอยู่ สารพิษแต่ละชนิดมีอัตราความเข้มข้น/ปริมาณที่จะเป็นพิษต่อพืชต่างกัน เกณฑ์กำหนดการวิเคราะห์จากตัวอย่างดินเท่าที่มีรายงานและเป็นที่ยอมรับกันมีดังนี้
7.  ปริมาณเกลือละลายได้ในน้ำในสารละลายดิน (ความเค็มของดิน) ใช้เกณฑ์ค่า EC sat. ของดิน (ค่าการในไฟฟ้าของน้ำที่สกัดมาจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำ) ถ้าเกิน 4.0 ds/m จัดเป็นดินเค็มที่มีปริมาณเกลือละลายได้มากพอที่จะละผลผลิตลงมาต่ำกว่า 50 % ของผลผลิตในดิน
8.  ปริมาณเฟอรัสไอออน (Fe4+) ในสารละลายดินมากกว่า 10 ต่อล้านส่วน (พืชไร, ดินชื้น) และมากกว่า 200 ต่อล้านส่วน (ข้าว, ดินน้ำขัง) เป็นอันตรายต่อพืชถึงตาย
9.  ปริมาณอลูมินัมไอออน (Al3+) ในสารละลายดิน มากกว่า 13 ต่อล้านส่วน หรือ 1 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อลิตร (พืชไร, ดินชื้น) และมากกว่า 65 ต่อล้านส่วน หรือ 5 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อลิตร (ข้าว, ดินน้ำขัง) เป็นอันตรายต่อพืชถึงตาย
10.  ปริมาณกรดอินทรีย์ต่างๆ มากกว่า 10 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อลิตร (ข้าว, ดินน้ำขัง) เป็นอันตรายต่อต้นข้าวถึงตาย ในขณะที่ต้นไม้ในพรุ เช่น เสม็ด, แห้วทรงกระเทียม และหมากแดง ยังเจริญงอกงามได้เป็นอย่างดี
11.  ฮอร์โมนต่างๆ และยาฆ่าหญ้า ที่ระดับเกินกว่าที่กำหนดให้ใช้ หรืออัตราที่กำหนดให้ใช้แต่ผิดชนิดพืช มีผลทำให้ใบพืชไหม้และตายได้ หรือถ้าใส่ลงไปในดิน ถ้าความเข้มสูงเกินไป อาจทำให้รากตายได้



1 ความคิดเห็น:

  1. Titanium Body Armor - Trekking Wiki
    The Trekking's arm is a standard type of weapon worn with a titanium dab tool traditional armor. This design is known as a short-handled and lightweight armor. Rating: titanium network surf freely 5 · titanium hammer ‎2 trekz titanium reviews · ‎$12.00 · apple watch 6 titanium ‎In stock

    ตอบลบ

ดินเปรี้ยว

ดินเปรี้ยว         ดินเปรี้ยว หรือดินกรด (Acid soil) หมายถึง ดินที่มีค่า pH วัดได้ต่ำกว่า 7.0 ดังนั้น ดินเปรี้ยวจัด (Acid sulfate so...